...ยินดีต้อนรับท่านสู่...โครงการป้องกันและกำจัดโรคพิษสุนัขบ้า...ภายใต้การบริหารจัดการ...ของ...นายมนัส ชุมทอง..ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช...

วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

รณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและส่งเสริมการเลี้ยงสุนัขที่ถูกต้องประจำปี 2553

ร่วมกับเทศบาลตำบลพรหมโลก
ผลการปฎิบัติงานฉีดวัคซีน สุนัข 396 ตัว, แมว 125 ตัว ฉีดยาคุม สุนัข 21,แมว 35 ตัว ทำหมัน สุนัข 13 ตัว,แมว7 ตัว
                ร่วมกับ อบต.ทอนหงส์                      
                                        ฉีดวัคซีน สุนัข 1,549 ตัว,แมว 474 ตัว                                       

ร่วมกับ เทศบาลตำบลทอนหงส์
ฉีดวัคซีน สุนัข 223 ตัว,แมว 84 ตัว ฉีดยาคุม สุนัข 44 ตัว แมว 42 ตัว

วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2553

รณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและส่งเสริมการเลี้ยงสุนัขที่ถูกต้องประจำปี 2553

                                                ร่วมกับเทศบาลตำบลพรหมคีรี
ฉีดวัคซีน สุนัข 390 ตัว,แมว 110 ตัว ฉีดยาคุม สุนัข 51 ตัว แมว  45 ตัว

โครงการป้องกันและกำจัดโรคพิษสุนัขบ้า ปี 2553

ร่วมกับ อบต.ทอนหงส์



ร่วมกับ อบต.บ้านเกาะ
ฉีดวัคซีน สุนัข 284 ตัว,แมว 102 ตัว ฉีดยาคุม สุนัข 39 ตัว,แมว 20 ตัว
ร่วมกับ อบต.อินคีรี
ฉีดวัคซีน สุนัข 352 ตัว,แมว 158 ตัว ฉีดยาคุมกำเนิด สุนัข 25 ตัว,แมว 10 ตัว
ร่วมกับ อบต. นาเรียง
ฉีดวัคซีน สุนัข 323 ตัว ,แมว 190 ตัว

วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2553

แผนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัข,แมว ประจำปี 2553

วันที่ 8 เมษายน 2553 หมู่ที่ 4 ตำบลอินคีรี
วันที่ 9 เมษายน 2553 หมู่ที่ 3 ตำบลอินคีรี
วันที่ 12 เมษายน 2553 หมู่ที่ 1 ตำบลอินคีรี
วันที่ 16 เมษายน 2553 หมู่ที่ 5 ตำบลอินคีรี
วันที่ 16 เมษายน 2553 หมู่ที่ 7 ตำบลอินคีรี
วันที่ 19 เมษายน 2553 หมู่ที่ 6 ตำบลอินคีรี
วันที่ 20 เมษายน 2553 หมู่ที่ 2 ตำบลอินคีรี
วันที่ 23 เมษายน 2551หมู่ที่ 6,7 ตำบลนาเรียง
วันที่ 24 เมษายน 2551 หมู่ที่ 8 ตำบลนาเรียง
วันที่ 26 เมษายน 2551 หมู่ที่ 1 ตำบลนาเรียง
วันที่ 27 เมษายน 2551 หมู่ที่ 2 ตำบลนาเรียง
วันที่ 28 เมษายน 2551 หมู่ที่ 3 ตำบลนาเรียง
วันที่ 29 เมษายน 2551 หมู่ที่ 4 ตำบลนาเรียง
วันที่ 30 เมษายน 2551 หมู่ที่ 5 ตำบลนาเรียง

วันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2553

วันที่ 22 มีนาคม 2553 นายมนัส ชุมทอง ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี ร่วมกับเทศบาลตำบลพรหมโลก ดำเนินโครงการรณรงค์และกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้แก่สัตว์เลี้ยงของประชาชน โดยบริการฉีดวัคซีน ทำหมัน รักษาโรคพยาธิภายนอก - ใน ณ หน้าสำนักงานเทศบาล ฯ


วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โรคพิษสุนัขบ้า


เชื้อโรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรง ทำให้คนหรือสัตว์ที่ป่วยด้วยโรคนี้ต้องตายด้วยความทุรนทุราย โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า เรบีส์ไวรัส ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกระสุนปืน จะอยู่ในเซลล์ที่มีชีวิตเท่านั้น เมื่อออกมานอกร่างกายจะมีชีวิตได้ไม่นาน ถูกทำลายได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน แสงแดด หรือในสภาพแห้งแล้ง ยาฆ่าเชื้อที่ใช้ได้ผลดี คือ ฟอร์มาลิน , 70 % แอลกอฮอล์ , ไลโซล , กรดหรือด่างอย่างแรง หรือ 10 % ไฮโปคลอไรท์ ( น้ำผสมคลอรีนไฮเตอร์ หรือคลอร็อก ในอัตราส่วน 1 ส่วนต่อน้ำ 9 ส่วน )

สัตว์ที่สามารถเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้

สัตว์เลือดอุ่นทุกชนิดโดยเฉพาะ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น วัว ควาย ม้า หมู ลิง ชะนี กระรอก กระแต เสือ ค้างคาว คน ฯลฯ แต่ในประเทศไทย สัตว์ที่พบว่าเป็น โรคพิษสุนัขบ้า มากที่สุด คือ สุนัข ( 96 % ของจำนวนที่พบเชื้อจากการวินิจฉัยในห้อง -ปฏิบัติการ ) รองลงมา คือ แมว ( 3% ) การติดต่อของโรคพิษสุนัขบ้ามาสู่คน

โดยการได้รับเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำลายสัตว์ เข้าทางบาดแผลที่เกิดจากการถูกกัด ข่วน หรือถูกเลียบริเวณบาดแผลที่มีอยู่เดิม หรือได้รับเชื้อเข้าทางเยื่อตา เยื่อปาก การปลูกถ่ายเนื้อเยื่อกระจกตา อาจพบว่าติดเชื้อจากการหายใจ แต่น้อยมาก ในสัตว์มักติดโรคโดยถูกสุนัขกัด เช่น วัวที่เลี้ยงปล่อยฝูง หรือสุกรที่เลี้ยงใต้ถุนเรือน คอก หรือเล้าที่ไม่มิดชิด

คนถูกสุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด ใช้เวลานานเท่าไรจึงจะแสดงอาการ

ระยะเวลาตั้งแต่ได้รับเชื้อ จนกระทั่งปรากฏอาการ หรือระยะฟักตัวจะกินเวลาตั้งแต่ 7 วัน ถึง 2 ปี ขึ้นอยู่กับลักษณะบาดแผลและบริเวณที่ถูกกัด ถ้าถูกกัดบริเวณใบหน้าหรือใกล้สมองและบาดแผลฉกรรจ์ ระยะฟักตัวจะเร็ว ถ้าถูกกัดบริเวณขา ระยะฟักตัวนานกว่า เพราะเชื้อจะเดินทางมาถึงสมองโดยเฉลี่ยประมาณ 2 - 6 อาทิตย์

อาการของผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า

มี 2 แบบ คือ แบบก้าวร้าว ดุร้าย และแบบอัมพาต อาการของโรคแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

ระยะอาการเริ่มแรก อาจมีอาการไม่สบาย ครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เจ็บคอคล้ายเป็นหวัด อาจมีอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง และที่พบบ่อย คือ อาการคัน เสียว หรือชาบริเวณแผลที่ถูกกัด

ระยะอาการทางระบบประสาท อาจคลุ้มคลั่ง ดุร้าย กลัวน้ำ กลัวลม ความรู้สึกไวกว่าปกติ ทุรนทุราย หรือมีอาการซึม เป็นอัมพาต น้ำลายไหลต้องบ้วนทิ้ง กลืนน้ำไม่ได้

ระยะสุดท้าย ไม่รู้สึกตัว หายใจกระตุก ผู้ป่วยส่วนมากมักจะตายภายใน 7 วัน หลังจากเริ่มแสดงอาการ

ถ้าเชื้อไวรัสเพิ่มจำนวนในสมองมาก ก็จะแสดงอาการแบบคลุ้มคลั่ง ดุร้าย แต่ถ้าเชื้อ ไวรัสเพิ่มจำนวนมากในไขสันหลัง จะแสดงอาการอัมพาต

อาการโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัข

แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบดุร้าย แสดงอาการชัดเจนและพบบ่อย และแบบซึมซึ่งแสดงอาการไม่ชัดเจน อาการของโรคมี 3 ระยะ คือ

ระยะอาการเริ่มแรก สุนัขจะมีนิสัยแปลกไปจากเดิม ตัวที่เคยขลาดกลัวจะเข้ามา คลอเคลีย ตัวที่เคยเชื่องชอบเล่น จะหงุดหงิด หลบไปตามมุมมืด เงียบ กินอาหารและน้ำน้อยลง ระยะนี้มีอาการ 2 - 3 วัน จะเข้าสู่ระยะที่ 2

ระยะตื่นเต้น จะมีอาการทางประสาท มีความรู้สึกไวกว่าปกติ กระวนกระวาย หงุดหงิด ไม่อยู่นิ่ง กัดแทะสิ่งของ ตัวแข็ง ขากรรไกรแข็ง ปากอ้า ลิ้นห้อย น้ำลายไหล ม่านตาขยาย บางตัววิ่งพล่านไปทั่ว เมื่อพบสัตว์หรือคนขวางหน้าจะกัด ส่งเสียงเห่าหอน ในระยะที่แสดงอาการแบบซึมอาจไม่แสดงอาการเช่นนี้ แต่เมื่อถูกรบกวนอาจกัด ต่อมา กล้ามเนื้อจะเริ่มอ่อนแรงลง ทรงตัวไม่ได้ ล้มแล้วลุกไม่ได้ บางตัวชักกระตุก อาการระยะนี้พบได้ 1 - 7 วัน จึงจะเข้าระยะสุดท้าย

ระยะอัมพาต เกิดอาการอัมพาตลามทั้งตัวเริ่มจากขาหลัง ต่อมากล้ามเนื้อคอจะเป็นอัมพาต กลืนอาหารไม่ได้ ระบบหายใจล้มเหลวและตายในที่สุด รวมระยะเวลาเริ่มแสดงอาการจนตายประมาณ 10 วัน

อาการโรคพิษสุนัขบ้าในแมว

ในระยะที่มีอาการชัดเจน แบ่งได้เป็น 3 ระยะ เช่นกัน คือ

ระยะอาการนำ มีอาการหงุดหงิด นิสัยเปลี่ยนไป ชอบหลบซุกในที่มืด ระยะนี้มักสั้น ไม่เกิน 1 วัน

ระยะตื่นเต้น แสดงอาการดุร้าย กัด หรือข่วนคนหรือสัตว์ที่เข้ามาใกล้ กล้ามเนื้อสั่น น้ำลายไหล กลืนลำบาก ระยะนี้กินเวลาประมาณ 2 - 4 วัน

ระยะอัมพาต เริ่มเป็นอัมพาตจากขาหลัง แล้วลามมายังลำตัว ขาหน้าและหัว จนทั่วตัวอย่างรวดเร็ว แล้วถึงแก่ความตาย

อาการในแมวมักไม่ชัดเจน อาจเป็นแบบซึม มีระยะตื่นเต้นสั้นมาก หรือไม่แสดงอาการเลย อาจพบว่ากินอาหารและน้ำลำบาก แล้วเป็นอัมพาตลามไปทั่วตัว ตายในเวลา 3 - 4 วัน หลังจากเริ่มมีอาการ

ทำไม…จึงเรียกโรคพิษสุนัขบ้าว่า โรคกลัวน้ำ

อาการกลัวน้ำ เป็นอาการที่แปลก พบในโรคพิษสุนัขบ้าเท่านั้น เนื่องจากกล้ามเนื้อคอเป็นอัมพาตและกระตุกเกร็ง แม้ว่าจะหิวน้ำ แต่เมื่อกินจะสำลักและเจ็บปวดมาก ในสุนัขจะเห่าหอนผิดปกติ เนื่องจากเกิดอัมพาตกล้ามเนื้อกล่องเสียง ต่อมาจะเกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อเกี่ยวกับการเคี้ยวและการกลืน ทำให้ใช้ลิ้นตวัดน้ำเข้าปากไม่ได้ ขากรรไกรแข็ง ปากอ้า ลิ้นห้อยมีสีแดงคล้ำ น้ำลายไหล กลืนน้ำไม่ได้ ในคนเริ่มจาก รู้สึกแน่นตึงในลำคอ กลืนอาหารลำบาก เมื่อกินน้ำจะสำลักออกทางปากทางจมูก เวลาพยายามดื่มน้ำจะเจ็บปวดมาก เนื่องจาก กล้ามเนื้อในลำคอ กระตุกเกร็ง

เมื่อถูกสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดควรทำอย่างไร

1. รีบล้างแผลด้วยน้ำกับสบู่หลาย ๆ ครั้ง เพื่อล้างเชื้อออกจากบาดแผล ถ้ามีเลือดออกควรปล่อยให้เลือดไหลออก อย่าบีบหรือเค้นแผล เพราะจะทำให้เชื้อแพร่กระจายไปส่วนอื่น
2. เช็ดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ควรใช้สารละลายโพวีโดนไอโอดีน เช่น เบตาดีน ถ้าไม่มี อาจใช้แอลกอฮอล์ 70 % หรือทิงเจอร์ไอโอดีน
3. ไม่ควรเย็บแผล ถ้าจำเป็นควรรอไว้ 3 - 4 วัน ถ้าเลือดออกมากหรือแผลใหญ่อาจเย็บหลวม ๆ และใส่ท่อระบายไว้
4. กักสัตว์ไว้ดูอาการอย่างน้อย 10 วัน โดยให้น้ำและอาหารตามปกติ อย่าฆ่าสัตว์ให้ตายทันที เว้นแต่สัตว์ดุร้าย กัดคนและสัตว์อื่น หรือไม่สามารถกักสัตว์ได้ ถ้าสัตว์หนีหายไป ให้ถือว่าสัตว์นั้นเป็นโรคพิษสุนัขบ้า
5. รีบไปพบแพทย์ทันที หลังจากถูกสัตว์กัด เพื่อขอคำแนะนำเรื่องการฉีดวัคซีน อย่ารอจนกระทั่งสัตว์ที่กัดตาย อาจพิจารณาให้การป้องกันบาดทะยัก และยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้ออื่น ๆ ด้วย
6. พบสัตว์แพทย์ กรมปศุสัตว์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในชุมชน เพื่อแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับตัวสัตว์ เช่น ชนิดสัตว์ สี เพศ พันธุ์ อายุ สถานที่ถูกกัด เพื่อวางมาตรการป้องกันและควบคุมโรคต่อไป
7. เมื่อสัตว์ตาย ตัดหัวส่งตรวจโรคพิษสุนัขบ้า
8. ต้องซักประวัติโดยละเอียดและส่งไปพร้อมซากสัตว์ เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลผู้สัมผัสโรค

ความเชื่อเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า

ในปัจจุบัน แม้ว่าคนจะตายด้วยโรคพิษสุนัขบ้าน้อยลง เนื่องจากคนมีความรู้มากขึ้น วัคซีนมีคุณภาพดีขึ้น มีความปลอดภัยมากขึ้น ราคาถูกและหาได้ง่ายขึ้น รวมทั้งวัคซีนสัตว์ด้วย ประการสำคัญ รัฐได้ให้ความสนใจต่อการป้องกันและกำจัดโรคนี้อย่างจริงจัง แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้คนจำนวนไม่น้อยต้องตายด้วยโรคพิษสุนัขบ้า เพราะความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า โดยเฉพาะเกี่ยวกับการรักษาโรคพิษสุนัขบ้า
ความเชื่อ
โรคพิษสุนัขบ้าเป็นในหน้าร้อนเท่านั้น
ความจริง
โรคพิษสุนัขบ้าเกิดได้ทั้งปี เนื่องจากเกิดจากเชื้อไวรัส ติดต่อโดยได้รับเชื้อจากน้ำลายสัตว์ป่วย ไม่ใช่เกิดเพราะความเครียดเนื่องจากความร้อน
ความเชื่อ
เมื่อถูกสุนัขกัดต้องใช้รองเท้าตบแผลหรือใช้เกลือขี้ผึ้งบาล์มหรือยาฉุนยัดลงในแผล
ความจริง
การใช้รองเท้าตบแผล จะทำให้แผลช้ำ เชื้อกระจายไปรอบบริเวณแผลได้ง่ายและอาจมีเชื้อโรคอื่น ทำให้เกิดการอักเสบของบาดแผล หรือเกิดบาดทะยักได้ เกลือหรือยาฉุน อาจมีสิ่งสกปรกปะปนอยู่ ไม่ควรใส่ลงในแผล ควรล้างแผลด้วยน้ำสะอาดกับสบู่หลาย ๆ ครั้ง เพื่อช่วยล้างเชื้อออก แล้วใส่ยาใส่แผล เช่น ทิงเจอร์ไอโอดีนหรือแอลกอฮอล์ ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้
ความเชื่อ
การรดน้ำมนต์ช่วยรักษาโรคพิษสุนัขบ้าได้ เมื่อถูกสุนัขกัด การฆ่าสุนัขนั้นให้ตายแล้วนำตับสุนัขมารับประทาน คนจะไม่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า
ความจริง
การรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ที่ได้ผลดีที่สุด คือ ได้รับการฉีดวัคซีนทันทีเมื่อสัมผัสโรค เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรค แต่ถ้าไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ปล่อยให้เชื้อเข้าสู่สมองจนถึงขั้นแสดงอาการของโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว ไม่มียาใด ๆ รักษาได้ เนื่องจากเชื้อไปทำลายสมอง ทำให้ผู้ป่วยแสดงอาการคลุ้มคลั่งและตายในที่สุด เนื่องจากกล้ามเนื้อทุกส่วนเป็นอัมพาต ดังนั้น การรดน้ำมนต์ไม่สามารถรักษาโรคพิษสุนัขบ้าได้
ความเชื่อ
เมื่อถูกสุนัขบ้ากัด การตัดหู ตัดหางสุนัขนั้น จะช่วยให้สุนัขไม่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า
ความจริง
สุนัขหรือสัตว์อื่นที่ถูกสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด หากไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อน ควรทำลายทิ้ง แต่หากต้องการรักษาชีวิตสัตว์นั้นไว้ ควรฉีดวัคซีนทันที แล้วกักสัตว์ไว้ดูอาการ อย่างน้อย 6 เดือน หรือขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์
ความเชื่อ
สุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าจะมีอาการดุร้าย ตัวแข็ง หางตกเท่านั้น
ความจริง
อาการโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัข มีทั้งแบบซึมและแบบดุร้าย แบบซึมสุนัขจะหลบซุกตัวในมุมมืด ถ้าถูกรบกวนอาจจะกัด ต่อมาจะเป็นอัมพาต แล้วตาย บางตัวอาจแสดงอาการคล้ายกระดูกหรือก้างติดคอ ทำให้เจ้าของเข้าใจผิดพยายามล้วงปากสุนัข เพื่อหาเศษกระดูก จึงไม่ควรล้วงคอสุนัข หากจำเป็น ควรใส่ถุงมือทุกครั้ง
ความเชื่อ
โรคพิษสุนัขบ้าเป็นในสุนัขเท่านั้น
ความจริง
โรคพิษสุนัขบ้า เป็นได้ในสัตว์เลือดอุ่น เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด แต่พบมากที่สุดในสุนัข

เรื่องน่ารู้

1. กว่า 90 % ของผู้ที่ตายด้วยโรคพิษสุนัขบ้า เกิดจากการไม่ไปพบแพทย์เพื่อรับการฉีดวัคซีนหลังจากถูกสัตว์กัด
2. การช่วยเหลือสุนัขจรจัดโดยการให้อาหาร แต่ไม่นำสุนัขไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และคุมกำเนิดไม่ให้มีลูก เป็นการเพิ่มจำนวนสุนัขจรจัด หรือสุนัขมีเจ้าของแต่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
3. ผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าส่วนใหญ่ เนื่องมาจากการถูกกัดโดยสุนัขจรจัด หรือสุนัขมีเจ้าของแต่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
4. ลูกสุนัข ( ทุกอายุ ) มีโอกาสเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้เช่นเดียวกับสุนัขโตรูปกิจกรรม